วันพุธที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ประวัติในบุคคลวงการ IT 1คน

บุคคลสำคัญในวงการคอมพิวเตอร์


<> <> 


Alan Mathison Turingอลัน มาธิสัน ทัวริง

เกิด วันที่ 23 มิ.ย. 1912 ที่กรุงลอนดอน อังกฤษ
เสียชีวิต วันที่ 7 มิ.ย. 1954 ที่เมืองวิล์มสโล อังกฤษ



ผลงาน : ทฤษฎีความสามารถคำนวณได้ของคอมพิวเตอร์ (Computability) , การทดสอบความฉลาดของคอมพิวเตอร์ (Turing test), เครื่องจักรทัวริง (universal Turing machine)

อลัน ทัวริง (Alan Turing) คิดค้นเครื่องจักรทัวริง (Turing machine) เครื่องมือในฝันที่สามารถทำอะไรได้ทุกอย่าง ถ้าเพียงแต่เราจะใส่วิธีทำลงไปซึ่งกลายเป็นต้นแบบแรกเริ่มของคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน ทัวริงแมชชีนเป็นเครื่องมือมหัศจรรย์ เพราะเป็นครั้งแรกที่เราแยก "อุปกรณ์" ออกจาก "ความสามารถของอุปกรณ์" นั้นได้ การทำงานของเครื่องไม่ได้ถูกกำหนดมาล่วงหน้า แต่ขึ้นอยู่กับวิธีทำหรืออัลกอริทึมที่แนบมาด้วย
เครื่องจักรทัวริงนั้นไม่้ยุ่งยาก ทำงานเป็นเหมือนเครื่องอ่านม้วนกระดาษยาวๆ (หรือเทป) ลองคิดดูว่าเรามีกระดาษเก็บข้อมูลยาวๆ ไม่สิ้นสุด บนกระดาษจะบันทึกเลขสองตัวคือ ศูนย์และหนึ่ง เช่น ...0011011000100... ทัวริงแมชชีนมีหัวอ่านค่าในกระดาษนี้ ที่บอกว่าตอนนี้กำลังอ่านเลขตัวไหนอยู่ตรงไหน และรู้ว่าตอนนี้อยู่ในสถานะใด (ทัวริงแมชชีนมีได้หลายสถานะ แล้วแต่ข้อมูลที่กำลังอ่านอยู่) 
วิธีทำที่แนบมาด้วยสามารถสั่งให้ทัวริงแมชชีนทำงานได้สี่ประการต่อไปนี้
1. อ่านเลขตัวติดกันทางซ้าย (เปลี่ยนตำแหน่งปัจจุบัน)
2. อ่านเลขตัวติดกันทางขวา (เปลี่ยนตำแหน่งปัจจุบัน)
3. แก้ค่าปัจจุบันที่อ่านอยู่ เช่นจาก 0 เป็น 1 หรือจาก 1 เป็น 0 (เปลี่ยนค่าบนกระดาษ)
4. เปลี่ยนสถานะ








รูปด้านบนเป็นการใช้เครื่องจักรทัวริงตรวจสอบคำว่าใช่ "aabb" หรือไม่ ไม่น่าเชื่อที่ว่าแค่สั่งให้เครื่องจักรทัวริงเคลื่อนไหวไปๆ มาๆ ลบค่าบ้าง เปลี่ยนสถานะบ้าง จะทำให้เครื่องนี้มีความสามารถมากมาย วิธีทำที่แนบมาเป็นตัวควบคุมการทำงานของทัวริง ถ้าเราแนบคำสั่งให้ทัวริงอ่านเลขตัวติดกันทางขวาไปเรื่อยๆ ทัวริงก็จะไม่มีประโยชน์อะไรนัก แต่ถ้าเราเขียนคำสั่งที่ซับซ้อนขึ้น เครื่องจักรทัวริงก็สามารถเล่นหมากรุกกับเราได้ อลัน ทัวริงถึงกับบอกว่าเครื่องจักรทัวริงสามารถจำลองระบบความคิดของมนุษย์ได้ และนี่คือเครื่องมือมหัศจรรย์ที่อลัน ทัวริงคิดค้น อลัน ทัวริง เกิดในลอนดอน ปี 1912 บิดาทำงานเป็นข้าราชการอังกฤษที่ต้องประจำในอินเดีย ซึ่งเป็นสถานที่ที่มารดาของเขาเห็นว่าไม่เหมาะสมที่จะเป็นสภาพแวดล้อมของลูก ดังนั้นชีวิตในวัยเด็กของทัวริงจึงเติบโตในอังกฤษในบ้านเลี้ยงเด็ก โดยที่พ่อแม่มาเยี่ยมเป็นครั้งคราว คาดกันว่าความเดียวดายในวัยเด็กนี้ ทำให้ทัวริงติดใจการทำงานของจิตใจมนุษย์เป็นพิเศษ

เมื่ออายุสิบสามปี ทัวริงเข้าโรงเรียน Sherbourne ใน Dorset ในสมัยมัธยม ทัวริงสนิทและนับถือรุ่นพี่คนหนึ่ง ชื่อ คริสโตเฟอร์ มอร์คอม (Christopher Morcom)
ซึ่งเสียชีวิตใ
นเวลาต่อมาอย่างกะทันหันด้วยวัณโรค ความสูญเสียนี้ทำให้ทัวริงหมดสิ้นศรัทธาในศาสนาและพระเป็นเจ้า และเชื่อว่าทุกสิ่งที่เกิดขึ้นจะต้องมีคำอธิบายที่เห็นและจับต้องได้จริง ทัวริงตั้งคำถามว่าจิตใจคนเราทำงานอย่างไร จิตของเพื่อนคนนั้นจะเป็นอย่างไรเมื่อร่างกายจากไปแล้ว เขาเชื่อว่าในเครื่องจักรกลและสมองของมนุษย์นั้นไม่มีจิตวิญญาณอยู่จริง แต่สงสัยว่าความคิด และความมีสติสัมปชัญญะเกิดได้อย่างไร

อลัน ทัวริงเข้าเรียนที่ King's College ในเคมบริดจ์ เมื่อเรียนจบได้ไม่นานก็เผยแพร่ผลงานเครื่องจักรทัวริง ช่วงนั้นเป็นช่วงของสงครามโลกครั้งที่สอง จากผลงานของทัวริงที่ปรากฎทำให้รัฐบาลเรียกตัวเขาไปร่วมงานชิ้นสำคัญ ในตอนนั้น รัฐบาลอังกฤษรวบรวมนักคณิตศาสตร์ แชมเปียนหมากรุก นักภาษา นักวิเคราะห์อักขระอียิปต์ และใครก็ตามที่มีผลงานเกี่ยวกับหลักตรรกศาสตร์ เพื่อพยายามถอดรหัสของเครื่องเอนิกมา (Enigma) ซึ่งเป็นรหัสลับที่นาซีใช้ติดต่อสื่อสารในช่วงสงคราม งานนี้เป็นความลับระดับชาติ หลังจากทัวริงเสียชีวิตไปแล้ว สาธารณชนจึงได้รับรู้ว่าทัวริงมีส่วนในการออกแบบเครื่องมือที่ใช้แกะนาซีโค้ดที่ส่งไปที่ U-boats ในแอตแลนติกเหนือ และมีส่วนช่วยให้แกะรหัสนี้สำเร็จในเวลาต่อมา

ทัวริงกลับมาที่เคมบริดจ์หลังสงครามเลิก และยังสนใจเรื่องเครื่องจักรกลที่สามารถคิดเองได้ เขาเสนอความคิดว่าเครื่องกลหนึ่งๆ สามารถจะเรียนรู้และแก้คำสั่งที่แนบมาเองได้ ทัวริงยังคิดค้นการทดสอบแบบทัวริง (Turing test) ที่โด่งดังซึ่งเป็นการวัดว่าเครื่องมือหนึ่งๆ จะมีความฉลาดทัดเทียมมนุษย์ได้หรือไม่ โดยวัดจากการนำคนหนึ่งไปนั่งในห้องปิด และถามคำถามเดียวกันกับคน และกับเครื่อง (แต่มองไม่เห็นว่าใครตอบ) ถ้าผู้ถามไม่สามารถแยกแยะได้ว่าคำตอบใดมาจากเครื่อง คำตอบใดมาจากคน นั่นย่อมแปลว่าเครื่องกลนั้นฉลาดทัดเทียมมนุษย์
ตัวอย่างของการทดสอบแบบทัวริงที่น่าสนใจอันหนึ่ง คือรางวัล Loebner ที่จัดทุกปี เพื่อแข่งขันหาโปรแกรมสนทนาโต้ตอบกับคนที่มีความสามารถใกล้เคียงมนุษย์มากที่สุด กรรมการสิบคนจากหลากหลายอาชีพพิมพ์โต้ตอบคุยกับอีกฝ่าย ซึ่งกรรมการไม่รู้ว่าอีกฝ่ายนี้เป็นโปรแกรมหรือเป็นคนจริงๆ ถ้ากรรมการแยกแยะไม่ได้ว่ากำลังคุยกับโปรแกรมหรือกับคน แต่จริงๆ แล้วอีกฝ่ายเป็นโปรแกรม ย่อมหมายความว่าโปรแกรมนั้นหลอกคนได้สำเร็จ และมีความฉลาดระดับหนึ่ง โปรแกรมที่ชนะเลิศการแข่งขันในปี 2004 มีชื่อว่าอลิซ (ALICE) ผู้เรียนสามารถลองคุยกับอลิซได้ที่เว็บไซต์ http://alicebot.org/ ตัวอย่างคำตอบของเธอต่อกรรมการ
กรรมการ: Do you daydream
Alice: I have a lot of dreams but I cannot remember them all.
กรรมการ: Do you speak any Swedish
Alice: I speak only English right now, but I'd like to learn some other languages. Can you teach me a few phrases in Any Swedish.

โปรแกรมเหล่านี้ต้องละเอียดขนาดความเร็วของแต่ละตัวอักษรที่ปรากฎ (เพราะต้องทำให้รู้สึกเหมือนคนกำลังพิมพ์ตอบ) ต้องวิจัยกันทีเดียวว่าเวลาที่ใช้การพิมพ์ตัวอักษรแต่ละตัวเป็นอย่างไร เช่นการพิมพ์ t นั้นเร็วกว่าการพิมพ์ตัว s และต้องใส่ถ่วงเวลาแค่ไหนระหว่างตัวอักษรแต่ละตัวจะปรากฎ และบางทีโปรแกรมก็ต้องพิมพ์ผิด เว้นวรรคพลาดบ้าง จะได้แนบเนียน แต่อลิซหลอกกรรมการที่เป็นจิตแพทย์ไม่ค่อยเก่ง เพราะเธอจนปัญญาเอาทีเดียวกับคำถามเหล่านี้
กรรมการ: If I see a house
Alice: Try it.
กรรมการ: Am I on the inside outside or could it be either







1.อลัน มาธิสัน ทัวริง เกิดวันที่เท่าไหร่และเกิดที่ไหน


ตอบ เกิดวันที่ 23 มิ.ย.1912
กรุงลอนดอน อังกฤษ




2.อลัน มาธิสัน ทัวริง เสียชีวิตเมื่อวันที่เท่าไหร่
ตอบ 7 มิ.ย.1954




3.ทัวริงมีรู่นพี่ที่ชื่อว่าอะไร
ตอบ คริสโตเฟอร์ มอร์คอม




http://www3.ipst.ac.th/research/assets/web/mahidol/computer(10)/evolution/Pioneers_Turing.htm



















ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น